ผลกระทบของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อุตสาหกรรม 4.0
การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในโลกของเรามี 4 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 อุตสาหกรรม 1.0 ศตวรรษที่ 18 ค้นพบเครื่องจักรไอน้ำ และในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ส่งผลให้หลายๆประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ มั่งคั่งมากขึ้น รวมถึงเป็นยุคของการล่าอาณานิคมอีกด้วย
ครั้งที่ 2 อุตสาหกรรม 2.0 ช่วงศตวรรษที่ 19 ค้นพบไฟฟ้า เครื่องยนต์สันดาปภายใน วัสดุเคมีภัณฑ์ การเดินทางทางอากาศ โลกเข้าสู่ยุคสมัยใหม่
ครั้งที่ 3 อุตสาหกรรม 3.0 ทศวรรษที่ 1970s ปฏิวัติระบบดิจิตอล (คอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน เป็นต้น) มีความสะดวกสบายและเชื่อมต่อกันได้มากขึ้น
ครั้งที่ 4 อุตสาหกรรม 4.0 ปฏิวัติครั้งใหญ่ที่รวดเร็วและทำให้เกิดการพลิกผันในวงกว้างกว่าครั้งไหนๆ
ที่มา : https://www.netobjex.com/how-humans-are-empowering-digital-transformation-in-industry-4-0/
การปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้ง จะต่อยอดมาจากการปฏิวัติครั้งก่อนหน้า เช่น การค้นพบไฟฟ้าทำให้ระบบดิจิตอลในการปฏิวัติครั้งที่ 3 มีแหล่งพลังงาน และทำงานได้
ที่มา : https://www.aware.co.th/thailand4-0/
ผลกระทบของยุค 4.0
ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งด้านบวกและลบ เช่น ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่, ตำแหน่งงานใหม่, ความคิดสร้างสรรค์,การเชื่อมโยงแต่ละสังคม, ความร่วมมือ-การบูรณาการ, การรักษาสุขภาพแนวใหม่ ผู้คนในยุคนี้จึงต้องปรับตัวและเรียนรู้ตามความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่เกิดขึ้น
จากคำกล่าว “One of the features of this Fourth Industrial Revolution is that it does not change what we are doing, but it changes us” ของ Klaus Schwab ผู้เขียนเห็นด้วย ก็จริงอย่างที่ Klaus Schwab กล่าวมานั้นถูกต้อง แต่ตัวผู้เขียนเองก็ไม่อยากยอมรับสักเท่าไหร่
เนื่องด้วยอุตสาหกรรม 4.0 ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้า มีการนำเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมาใช้เพื่อเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวกคือการผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพ เป็นตามความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้านลบคือแรงงานที่ไม่มีฝีมือ หรือคนที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะตกงานจำนวนมาก
ที่มา : http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=857§ion=30&issues=76
ยกตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรม 4.0 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทางผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ประเทศไทยนั้น มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูงมากอยู่แล้ว อุตสาหกรรม 4.0 ไม่ได้เปลี่ยนสิ่งที่นายทุนกำลังจะทำ แต่จะทำให้นายทุนปรับตัวลดต้นทุนและสร้างความสามารถในการแข่งขันโดยการใช้นวัตกรรมดิจิตอลในการผลิตแทนแรงงานคน ตามคำกล่าวของ Klaus Schwab นั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ
และผลกระทบของอุตสาหกรรม 4.0 ที่ส่งผลต่อตัวผู้เขียนและในสังคมที่ผู้เขียนสามารถพบเห็นได้จากแหล่งข่าวต่างๆ จากการดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ หรือบทความ วิจัยต่างๆ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือมีการนำนวัตกรรมเข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนได้ดี มีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน มีระบบ AI เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพ มีเครื่องจักรกลทันสมัยในระบบงาน เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผู้เขียนเองนั้น ในฐานะของผู้บริโภคคนหนึ่งที่พึงพอใจในความต้องการสินค้าเพราะสินค้าที่อยากได้นั้นมีเพียงพอต่อความต้องการ จึงเป็นข้อดีที่ผู้เขียนให้ความเห็น
ส่วนข้อเสียนั้น ถึงแม้ว่านวัตกรรมจะทำให้ลดภาระค่าใช้จ่าย ลดเวลาเพิ่มคุณภาพงานในสถานประกอบการ แต่ส่งผลทางอ้อมกับแรงงาน คือแรงงานที่ไม่สามารถปรับตัวได้ในเวลาอันรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลง และแรงงานที่มีทักษะไม่สูง จะต้องเสี่ยงถูกเลิกจ้าง ตกงาน ขาดรายได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในสังคม เศรษฐกิจ และประเทศชาติ หากไม่เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว อาจไม่สามารถอยู่รอดหรือแข่งขันได้ในโลกยุคนี้
____
อ้างอิง
อัมพรวรรณ วงษ์ท่าเรือ. (2562). อุตสาหกรรมปูนซีเมนส์ 4.0. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563. จาก http://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/ArticlesAnalysis/cementindustry_4.0.pdf
เอกชัย จั่นทอง. (2561). ผลกระทบนโยบาย 4.0 เสี่ยงทำแรงงานไร้อาชีพ. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563. จาก https://www.posttoday.com/politic/report/562857
Investment Reader. (2562). ทำความรู้จักกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4: รวดเร็วและdisrupt ในวงกว้างกว่าครั้งไหนๆ. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563. จาก https://www.finnomena.com/investment-reader/4ir/
เห็นด้วยกับผู้เขียนค่ะ การปฏิวัติครั้งนี้แม้จะสร้างประโยชน์มากมายแต่ก็มีผลเสียอย่างมหาศาลเช่นกัน
ReplyDeleteอย่างนี้เราต้องสร้างทักษะและความรู้เพิ่มแล้ว เพื่อให้เท่าทันกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้
ReplyDeleteเห็นด้วยกับผู้เขียนค่ะ การเปลี่ยนแปลงมีทั้งข้อดีและข้อเสียจริงๆ และอีกอย่าง บทความนี้อ่านง่ายเเละเข้าใจง่ายค่ะ
ReplyDeleteBlogอ่านง่าย น่าติดตามมากเลยค่ะ
ReplyDelete